ประวัติความเป็นมา

สถาบันฝึกอบรมและวิจัยการพิสูจน์หลักฐานตำรวจ เป็นหน่วยงานสังกัด สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ ได้มีการแบ่งส่วนราชการสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2552 ไว้ดังนี้

      1.   กองบังคับการอำนวยการ

      2.   กองพิสูจน์หลักฐานกลาง

      3.   กองทะเบียนประวัติอาชญากร

      4.   ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 1

      5.   ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 2

      6.   ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 3

      7.   ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 4

      8.   ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 5

      9.   ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 6

    10. ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 7

    11. ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 8

    12. ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 9

    13. ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 10

    14. สถาบันฝึกอบรมและวิจัยการพิสูจน์หลักฐานตำรวจ

  และหน่วยงานระดับกองกำกับการขึ้นตรง

  -กลุ่มงานพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล

  -ศูนย์ข้อมูลวัตถุระเบิด                                     

 

  ในปี พ.ศ.2548 ศูนย์พัฒนานิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ (ศพน.) ได้จัดตั้งขึ้น เป็นหน่วยงานระดับกองกำกับการ ภายใต้สังกัด สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ (สนง.ตร.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการฝึกอบรม   และให้ความรู้แก่นักวิทยาศาสตร์สังกัด สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ และเพื่อพัฒนางานนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ

          ต่อมาปี พ.ศ.2552 มีพระราชกฤษฎีกาปรับปรุงโครงสร้างของสำนักงานตำรวจแห่งชาติยกฐานะศูนย์พัฒนานิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ เป็นสถาบันฝึกอบรมและวิจัยการพิสูจน์หลักฐานตำรวจ   ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับ กองบังคับการ มีโครงสร้างอำนาจหน้าที่ตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2553 แบ่งส่วนเป็น

          1. ฝ่ายอำนวยการ รับผิดชอบเกี่ยวกับงานธุรการและงานสารบรรณ งานการเงิน และบัญชี งานอำนวยการต่างๆ ของหน่วย

          2. ฝ่ายฝึกอบรม มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ งานวิชาการ งานจัดฝึกอบรม งานบริการ การศึกษางานทะเบียนและวัดผล

          3. ฝ่ายพัฒนา มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริหารการวิจัยการวางพื้นฐานเพื่อพัฒนางานวิจัยนิติวิทยาศาสตร์

          4. ฝ่ายปกครอง รับผิดชอบเกี่ยวกับการปกครอง บังคับบัญชา และให้คำปรึกษาแนะนำ แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทุกหลักสูตร ในสถานบันฝึกอบรมและวิจัยการพิสูจน์หลักฐานตำรวจ

          5. กลุ่มงานมาตรฐาน รับผิดชอบเกี่ยวกับการกำหนดแผน ควบคุมมาตรฐาน การปฤิบัติงานนิติวิทยาศาสตร์ มาตรฐานการศึกษาอบรม มาตรฐานตำแหน่ง ตลอดจนควบคุมจรรยาบรรณของ

          ผู้ตรวจพิสูจน์

          6. กลุ่มงานผู้เชี่ยวชาญ รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการภาควิชาการ งานห้องปฏิบัติการ งานสอนวิชาต่างๆ จัดทำโปรแกรมการศึกษา สรรหาครูอาจารย์ผู้สอนและวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ

          รวมถึงการผลิตตำราคำสอน และเอกสารทางวิชาการ ตลอดจนการศึกษาค้นคว้า วิจัยและพัฒนาโครงการเกี่ยวกับการตรวจพิสูจน์หลักฐานและงานทะเบียนประวัติอาชญากร